วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติ พล.ร.ต.ปิโยรส ปรียานนท์



ชื่อ พล.ร.ต. นพ.ดร. ปิโยรส ปรียานนท์ ร.น .
 เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2501 
บิดา นพ. ปัญญา ปรียานนท์ ร.น.        มารดา นางสินทรา ปรียานนท์ (เป็นธิดาของหลวงทรงบุณยแพทย์, น.ท.บุญทรง บุณยชาต แพทย์ประจำพระองค์ ในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ) 
ภรรยา พล.ร.ต. ทันตแพทย์หญิง สพฤดี อุดหนุน ร.น. ทันตแพทย์ประจำกองทันตกรรม
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 
ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ประธานกรรมการ สถานปฏิบัติธรรมวัชรธรรมสถานประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรอยยิ้มเพื่อพ่อ1”
ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 2"
ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 3"
ประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันประเทศไทย
รองประธานมูลนิธิจิ้งซือดวงแก้วในพระสังฆราชูปถัมภ์
ประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

สถานที่ทำงาน
*ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 504 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน   บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 
*มูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ 1/2 ซ.กันตะบุตร(เทศบาล23) ถ.สุขุมวิทต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270โทรศัพท์ / โทรสาร 02-753-9603

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2506-2516 ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
พ.ศ. 2517-2518 มัธยมศึกษาปีที่4-5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พ.ศ. 2518-2519 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2519-2522 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2519-2524 คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2524-2525 แพทย์ฝึกหัด รพ.ภูมิพล
พ.ศ. 2527-2530 ศัลยกรรมตกแต่ง มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
พ.ศ. 2529-2530 ศัลยกรรมศีรษะและคอ สถาบันมะเร็ง ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2530-2531 ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center N.Y.
พ.ศ. 2533-2534 รร.เสนาธิการทหารเรือ
พ.ศ. 2534-2536 คณะวิศวกรรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว 
พ.ศ. 2544-2545 วิทยาลัยการทัพเรือ
พ.ศ. 2545-2546 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วุฒิการศึกษาและเกียรติคุณที่เคยได้รับ
พ.ศ. 2522 วิทยาศาสตร์บัณฑิต
พ.ศ. 2524 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศีรษะและคอ ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2531 วุฒิบัตร ศัลยกรรมตกแต่งและแก้ไขความพิการ ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2531 ประกาศนียบัตร ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center., N.Y.
พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตร รร.เสนาธิการทหารเรือ
พ.ศ. 2536 ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการแพทย์ (Laser Medicine) มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
พ.ศ. 2541 รับพระราชทานรางวัลมหิดล -บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทยประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
.ศ. 2541 รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2541
พ.ศ. 2542 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2542
พ.ศ. 2543 รางวัลนักวิจัยดีเลิศ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกระทรวงกลาโหมประจำปี 2540-43พ.ศ. 2544   รับพระราชทานรางวัลนักวิจัยดีเด่น Vincent Award ด้านงานวิจัยทางการแพทย์ ประจำป2544 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
พ.ศ. 2544 ประกาศนียบัตรนักบริหารรุ่นใหม่ คณะพานิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ. 2545 รางวัลคนดีสังคมไทย ประจำปี 2545
พ.ศ. 2546 รางวัลนักบริหารดีเด่น ประจำปี 2546
พ.ศ. 2546 ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2560 รางวัล "คนดีศรีแผ่นดิน ตามรอบธรรมราชา
พ.ศ. 2561 รางวัลแพทย์ต้นแบบ จากแพทยสภา
พ.ศ. 2561 รางวัลเพชรชมพู สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หลักในการทำงาน 
ทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในวันนี้และปัจจุบันนี้ด้วยความสุขในใจธรรมนำการบริหาร

หลักในการดำเนินชีวิต
ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทาน - การให้เผื่อแผ่และแบ่งปันศีล - ระเบียบในการดำเนินชีวิตภาวนา - ฝึกฝนอบรมจิตใจให้มั่นคง

ประวัติดีเด่นในการทำงานที่ถือได้ว่าเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล ี-บราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2541ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ได้มีโอกาสทำงานในสิ่งที่ตนรัก ร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกันและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ และโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติการก่อตั้งและดำเนินงานมูลนิธิดวงแก้วนาวาเอก ปิโยรส ปรียานนท์ ได้เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงแก้วขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2531 โดยได้เริ่มทำงานออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผ่าตัดผู้พิการและด้อยโอกาสในชนบทร่วมกับอาจารย์ ศัลยเวทย์ เลขะกุล และอาจารย์สุกิตต์ เอื้อไพบูลย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 โดยเริ่มออกหน่วยแพทย์กับหน่วยแพทย์ของมูลนิธิ หู คอ จมูก ชนบทก่อน ภายหลังเมื่อมีคนไข้มากขึ้น จึงได้แยกหน่วยออกมาปฏิบัติการเอง โดยใช้ชื่อมูลนิธิดวงแก้ว วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิดวงแก้ว ได้แก่ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้พิการและด้อยโอกาสให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ

1.เพื่อช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ2.เพื่อส่งเสริมงานด้านวิจัยทางการแพทย3.เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาการดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านความพิการในชนบทจากการที่ได้เล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้พิการและด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะชนบทที่ห่างไกล ซึ่งการเดินทางเข้ามารับการรักษาภายในตัวเมืองเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความยากจน หรือในบางสถานที่โรงพยาบาลในชุมชนก็ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งเครื่องมือที่เหมาะสม ผู้พิการเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่จะหายหรือดีขึ้นได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น น.พ. ปิโยรสและคณะจึงได้ทำการประสานกับโรงพยาบาลในชุมชน,หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ ขอทราบจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษา โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่น ๆ เพื่อที่จะจัดวันออกไปทำการรักษาผ่าตัดให้ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่นั้น ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง คณะทำงานประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครประมาณ 10 - 15 คน ทำการรักษาผ่าตัดครั้งละ 2 - 3 วัน วันละ 10 - 20 คน โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เช้า จนกระทั่งสิ้นสุดผู้ป่วยคนสุดท้าย ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันประมาณปี 2551 ได้ทำการผ่าตัดผป.ปากแหว่งเพดานโหว่ไปแล้วประมาณ 8,000 ราย รวม ผป.ทุกรายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิดวงแก้ว ประมาณ15000รายได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาผ่าตัดในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินเดีย ภูฐานฯ ได้จัดทีมแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติทั้งในและต่างประเทศเช่น พม่า ศรีลังกา ญี่ปุ่น  เซอเบียร์ บังกลาเทศ  ฟิลลิปปินส์ เนปาล เป็นต้น  ในปี2559 ได้เป็นประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่19แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดสร้างวัดไทยรัตนประทีป ณ กรุงบูดาเปสต์ จัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์ และอาคาร ญาณสังวรานุสรณ์ เพื่อดูแลและฟื้นฟู ผป.สูงอายุและพิการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น